Maltese Dog

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 3 พรบ.คอมพิวเตอร์






Cr. พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2558


.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 คือร่างแก้ใขของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสม   กับเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นโครงสร้างของกฎหมายสองฉบับจึงเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ 
และแน่นอนกฏหมายทั้งสองฉบับก็ต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายประเด็น และหลายๆ ประเด็นก็ถูกตั้งคำถามมากมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่?
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558  และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ดังนั้น พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 นั่นเอง


ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559



cr. หลักการใหม่ในการร่างแก้ไขพรบ.คอมพิวเตอร์


เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 ตามที่ Posttoday นำเสนอมีดังนี้
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 28 เม.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ… วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนที่อยู่เดิมในพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน…….ซึ่งมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”
สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
มาตรา 4
 “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท”
มาตรา 5
กำหนดว่า ถ้าผู้ใดกระทำผิดใน 5 ประการ ได้แก่
1.การเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน
2.นำมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิชอบ
3.ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
4.ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และ
5.ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว
ทั้งหมดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท ที่สำคัญ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท
ส่วนเรื่องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความเสียหายให้กับบุคคล ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ได้มีกระบวนการจัดการกับผู้กระทำความผิดเข้มข้นมากขึ้นด้วย
โดนบัญญัติในมาตรา 10 ว่า “ผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท”
มาตรา 10 ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นโดยให้ผู้กระทำผิดต้องรับทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ จากเดิมที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะที่ว่านั้นด้วยการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะเดียวกัน ในร่างกฎหมายที่ ครม.เสนอให้ สนช.พิจารณา ยังได้บัญญัติมาตรการทางศาลเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายด้วย โดยมาตรา 11 ระบุว่า “ในคดีซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง
(1) ให้ยึดและทำลายข้อมูล
(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่อที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา”
เช่นเดียวกับ มาตรา 20 ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแต่งตั้ง ยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลขอให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่หรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในที่นี้มีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
(1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้
(2) ข้อมูลที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 ตามประมวลกฎหมายอาญา
(3) ข้อที่เป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ร้องขอ และข้อมูลนั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(4) ข้อมูลที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรืออันดีของประชาชน ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีมีมติเป็นเอกฉันท์



ชำแหละ พ.ร.บ.คอมพ์ฉบับใหม่เปิดช่อง “รมว.ไอซีที” คุมเบ็ดเสร็จทั้งอินเทอร์เน็ต-โซเชียลมีเดีย นักกฎหมายระบุอำนาจล้นฟ้า ตั้ง 2 คณะกรรมการกำกับ สั่งปรับ “คดีแฮก” ไม่ต้องขึ้นศาล ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสิทธิอุทธรณ์ สั่ง “บล็อกเนื้อหา” ได้ทุกประเภทเพื่อความสงบเรียบร้อย จ่อเข้า “สนช.” ศุกร์หน้า
นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ และมีส่วนร่วมในการยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ซึ่งเพิ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (19 เม.ย. 2559) มีความน่ากังวลหลายประเด็นแม้ว่าในภาพรวมจะมีการแก้ไขในประเด็นที่ร่างฉบับก่อนหน้านี้โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และที่น่าจับตาคือ มีการดึงอำนาจกลับไปให้รัฐมนตรีไอซีที หรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังจะตั้งขึ้นเยอะมาก จนเรียกว่า เกือบควบคุมระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งบางประเด็นยอมรับได้ แต่ในหลายประเด็นถือว่าน่ากลัวมาก
ตั้ง 2 คณะกรรมการอำนาจล้น
นายไพบูลย์กล่าวว่า ที่น่ากังวลมากที่สุดคือ มาตรา 17/1 ให้อำนาจรัฐมนตรีไอซีทีตั้ง “คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ” ซึ่งกลายเป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจมากกว่าศาล เนื่องจากระบุว่าหากเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจสั่งปรับได้โดยไม่ต้องนำคดีไปศาล และคดีก็จะถือว่าสิ้นสุด
สำหรับความผิดภายใต้กรอบนี้มี 3 มาตรา คือ มาตรา 5 และมาตรา 7 คือการแฮกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โทษจำคุก 2 ปี กับความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยรหัสลับ ตามมาตรา 6 ตามกฎหมายคือโทษจำคุก 1 ปี ถือเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง จากเดิมที่ต้องเข้าสู่กระบวนการศาล แต่กฎหมายใหม่ให้ส่งไปคณะกรรมการชุดนี้ปรับแล้วคดีจบทันที ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีการกระทำผิดหลายกรณีที่มีมูลค่าความเสียหายสูง อาทิ กรณีแฮกระบบ เติมเงินของโทรศัพท์มือถือ แล้วขโมยเงินไปได้หลายล้านบาท เท่ากับยกคดีที่มีมูลค่า เสียหายทางเศรษฐกิจไปให้คนกลุ่มหนึ่งชี้ขาดแทนศาล โดยไม่มีกระบวนการกลั่นกรอง กระบวนการอุทธรณ์ และฎีกา ซึ่งไม่มีประเทศไหนทำกัน
“ถ้ามองในแง่ร้ายจะกลายเป็นว่าเอาอำนาจตุลาการ อำนาจศาลมาอยู่ในรัฐมนตรีกับคณะกรรมการชุดนี้ แต่ร่างกฎหมายใหม่ของไทยกำลังจะบอกว่าความผิดแบบนี้จบได้ที่คณะกรรมการชุดนี้ และ ที่น่ากังวลมาก คือ ร่าง พ.ร.บ.ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการไว้ โดยให้ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีไอซีทีกำหนด ทั้งให้ถือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย และที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.คอมพ์ตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมามีปัญหาตลอด ถือว่าเป็นความล้มเหลวได้ ทั้งการตั้งโดยตำแหน่ง ไม่ได้มาจากความรู้ ความสามารถ ถ้ามองในแง่ดีคืออาจไม่อยาก ให้คดีรกศาล หรือปิดคดีได้เร็วขึ้น แต่พอรวมให้คดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีมาอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการชุดดังกล่าวด้วย จึงมีคดีการแฮกข้อมูลด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ และเป็นวัตถุประสงค์หลักของการมี พ.ร.บ.นี้ จึงเป็นเรื่องน่ากลัว” นายไพบูลย์กล่าว
ขณะที่มาตรา 20 เรื่องการบล็อกเว็บไซต์ เดิมจะบล็อกได้เฉพาะความมั่นคงและความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ร่าง พ.ร.บ.นี้ มาตรา 20 (3) บล็อกเนื้อหาที่ผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่น และมาตรา 20 (4) บล็อกเนื้อหาที่ไม่ผิดกฎหมายอื่น แต่ขัด ความสงบเรียบร้อย สามารถร้องพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วส่งให้รัฐมนตรีเซ็นเพื่อขอให้ศาลสั่งบล็อกเว็บไซต์ได้เลย ทำให้ทุกความผิดอาญาในการบล็อกเนื้อหาจะใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แทน โดยตั้ง “คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล” เพิ่มขึ้นมาโดยรัฐมนตรีไอซีทีเป็นผู้ตั้ง มีอำนาจในการวินิจฉัยบล็อกเว็บไซต์ได้
“เท่ากับว่าแม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่รัฐบาลไม่โอเค คณะกรรมการชุดนี้สั่งบล็อกได้ เท่ากับปิดได้หมดทุกโซเชียลมีเดีย เข้าใจว่าตอนนี้รัฐบาลมีปัญหาเรื่องการปราบปรามการแพร่ข้อมูลผ่านสื่อใหม่เยอะ มาตรา 20 (4) ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ แต่จะมีคำถามเดิม คือ คณะกรรมการเป็นใครมาจากไหน เพราะคนกลุ่มนี้มีอำนาจปิดบล็อกทุกอย่างในประเทศนี้”
และการพิจารณาในรูปแบบของคณะกรรมการ กระบวนการอุทธรณ์จึงไม่มี ช่องทางทำได้เลย ไม่สามารถโต้แย้งได้ ซึ่งไม่ยุติธรรมกับทั้งผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด
ทั้งนี้การที่ร่าง พ.ร.บ.ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติ และความรับผิดใด ๆ ของคณะกรรมการชุดนี้ แม้ต่อไปจะบอกว่าจะมีการออกกฎกระทรวงมารองรับ แต่ก็เป็นอำนาจเด็ดขาดของรัฐมนตรีที่จะออกประกาศอะไรก็ได้
อุดช่องโหว่ปัญหา “สแปม”
นายไพบูลย์กล่าวว่า ส่วนที่แก้ไขได้ดีขึ้น คือ การปิดข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาสแปม หรือการส่งข้อความไม่พึงประสงค์ ซึ่งร่างเดิมระบุว่า หากมีการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออีเมล์ โดยไม่ได้เปิดให้ผู้รับแสดงเจตนาปฏิเสธได้ จะถือว่าเป็นความผิด โทษปรับถึง 2 แสนบาท ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะการส่งข้อความในสื่อโซเชียลมีเดีย ไม่มีฟังก์ชั่นให้ผู้รับแจ้งได้ว่าจะรับหรือไม่รับข้อความ ทำให้ผู้ส่งมีความผิดได้ทันที
“ร่างฉบับใหม่มีการปรับแก้ โดยให้รัฐมนตรีไอซีทีออกประกาศแนวทางว่าการรับส่งข้อมูลแบบไหนที่ไม่เข้าข่าย ม.11 สามารถระบุได้ว่า การส่งข้อความผ่านโซเชียล มีเดียแบบไหนที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่น่ากังวล คือ ผู้จัดทำร่างประกาศ ทีมงานของรัฐมนตรีจะมีความเข้าใจถึงเรื่องพวกนี้มากแค่ไหน”
ส่วนปัญหามาตรา 14 การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ร่างฉบับใหม่ เพิ่มคำว่า “โดยทุจริตกับโดยหลอกลวง” ทำให้ปัญหาของมาตรานี้ ที่เกรงว่าจะถูกนำไปใช้ในคดีหมิ่นประมาทถูกตัดไป ทำให้กลายเป็นความผิดกรณี “ฟิชชิ่ง” คือ ต้องเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ประชาชนโดยการหลอกลวง ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง ซึ่งจะตรงกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายมากกว่า ขณะเดียวกันยังนำความผิดในการเผยแพร่เกี่ยวกับสิ่งลามกอนาจารกลับเข้ามาใหม่ โดยรวมถือว่าพอยอมรับได้
ขณะที่มาตรา 15 ว่าด้วยความผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หรือเจ้าของเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น จะต้องเป็นผู้รับผิดจากการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลหรือไม่ ร่างฉบับใหม่ได้แก้ให้อำนาจรัฐมนตรีไอซีที ออกประกาศว่าต้องมีกรอบ ขั้นตอนอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้ไม่ผิดตามมาตรานี้ แต่ประกาศจะออกมาอย่างไร ยังเป็นคำถาม ซึ่งขึ้นอยู่กับคณะทำงานว่าเข้าใจประเด็นต่าง ๆ มากแค่ไหน เพราะจะกลายเป็นว่ารัฐมนตรีมีอำนาจเข้าไประบุได้ว่าการใช้โซเชียลมีเดียของทุกคน เขียนอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง คือ โดยเจตนารมณ์ดี แต่ถ้ามีประกาศที่ห้ามไปหมดทุกอย่างก็จะกลายเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้
แก้ไม่ตรงจุดฉุดธุรกิจ
ด้านนางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ชมรมเห็นประโยชน์ของการมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะอาชญากรรมในโลกออนไลน์ส่งผล กระทบกับการทำงานของผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ หากมีกฎหมายออกมาช่วยได้ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ควรโฟกัสเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ การสร้างความเสียหายกับระบบต่าง ๆ ไม่ควรรวมถึงเรื่องคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์, การพนัน หรือยาเสพติด เป็นต้น เนื่องจากเป็นการผลักภาระมาที่ ผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นการทำลายธุรกิจ และผลักดันให้หนีไปตั้งเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ เพราะหากเปิดในประเทศยุ่งยาก
“เราอยากให้มีกฎหมายเกี่ยวกับคอนเทนต์ แยกต่างหากออกมา ไม่ควรไปรวมอยู่ใน พ.ร.บ.คอมพ์ ถ้ากฎหมายไม่เอื้อต่อธุรกิจ ก็ต้องหนีไปที่อื่น ไม่ใช่ปิดธุรกิจแต่ย้ายฐาน ไปที่อื่น นี่คือสาเหตุที่ต่างชาติไม่เข้ามา ลงทุนในบ้านเราด้วย ซึ่งสวนทางกับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายควรมองอย่างรอบด้าน และมีความเข้าใจเทคโนโลยี เพราะถ้าไม่ถูกจุดนอกจากจะจับผู้ร้ายไม่ได้แล้วยังทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้ด้วย”
พลเมืองเน็ตชี้ขัดหลัก กม.
นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ น่าจะเป็นความพยายาม ของฝ่ายบังคับใช้กฎหมายที่มองว่ามีคดีไปที่ศาลเยอะซึ่งเสียเวลานาน จึงต้องการพยายามที่จะนำคดีที่มีโทษปรับ หรือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี มาอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการเพื่อลดภาระของศาล อย่างไรก็ตาม ในการจัดตั้งคณะกรรมการ ตามอำนาจ รมว. ไอซีที ที่น่ากังวลคือกฎหมายไม่มีการกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของคณะกรรมการเลย
นอกจากนี้ในส่วนแก้ไขมาตรา 20 ส่วนที่เป็นปัญหามากที่สุด ได้แก่ มาตรา 20 (4) ที่มีการเพิ่มความผิดเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ “ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่น” อันมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับทำการแพร่หลายคือลบข้อมูลได้นั้น ประเด็นนี้ในทางปฏิบัติน่าจะมีปัญหา เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวขัดกับหลักการกระทำ ความผิดโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งนำไปสู่ การระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และยังอาจทำให้ผู้ให้บริการ ISP เลือกที่จะถอดเนื้อหาที่ถูกฟ้องร้องออกจาก เว็บไซต์ของตนโดยไม่รอคำสั่งศาลเพื่อความปลอดภัย
รมว.ไอซีทีเตรียมชี้แจง สนช.เอง
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวันศุกร์ที่ 29 เม.ย.นี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีวาระจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. 3 ฉบับ ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ได้แก่ พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. …ที่มีการทบทวนใหม่โดยกระทรวงไอซีที และร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.ศ. …และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่…) พ.ศ. …
โดยขณะนี้ได้เตรียมตัวสำหรับการชี้แจงหลักการของการยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับด้วยตนเอง หาก สนช.เห็นชอบก็จะถือว่าร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับผ่านการพิจารณาวาระแรก จากนั้นจะตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับเป็นรายมาตรา เพื่อให้มีการปรับแก้ ก่อนส่งกลับให้ สนช.ลงมติในการพิจารณาวาระที่ 3 และเตรียมประกาศบังคับใช้ต่อไป
“ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เวลาแค่ไหนก่อนที่กฎหมายจะประกาศใช้ ต้องหารือกับวิป สนช.ก่อน แต่จะดำเนินการให้เร็วและรอบคอบที่สุด”
รัฐมนตรีไอซีทีกล่าวว่า ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะฉบับเก่าประกาศใช้มาหลายปีแล้ว โดยมุ่งให้ส่งเสริม และสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล จึงต้องประสานเชื่อมต่อกับกฎหมายฉบับอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาในภาพรวม อาทิ ปัญหาด้านลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา การพนันออนไลน์
“การแก้ไขครั้งนี้ได้ทำให้มีความชัดเจนขึ้นในหลายมาตรา อาทิ ที่เกี่ยวกับการทุจริตฉ้อโกง เพราะกำลังจะส่งเสริมให้มีการค้าออนไลน์มากขึ้น แต่ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่เข้าศาลแล้วก็หลุดเยอะ ต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อผู้ขาย รวมถึงส่วนของอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ต้องให้ชัดเจน เพราะเป็นประเด็นที่มีการถามเยอะว่า มีน้อยไป มากไปหรือไม่ ก็เข้าใจว่าต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ยืนยันว่าจะไม่ยอมให้มีส่วนไหนของกฎหมายขัดกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเด็ดขาด”
กรณีที่มีข้อกังวลเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่รัฐมนตรีไอซีทีจะตั้งขึ้น 2 ชุด ยืนยันว่าจะมีการออกกฎหมายลูกมารองรับให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งไม่ใช้แค่ดุลพินิจของรัฐมนตรีไอซีทีเท่านั้น ต้องให้ ครม.เห็นชอบด้วย เพราะต้องออกแบบเผื่อไว้สำหรับรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดต่อ ๆ ไป จึงต้องมีหลักการที่ชัดเจน
“ยืนยันว่ากระบวนการทางศาลทุกอย่างยังเหมือนเดิม การดำเนินคดี การบล็อกเว็บไซต์หรือข้อมูลต่าง ๆ ต้องไปจบที่ศาล เพียงแต่จะมีการทำบางกระบวนการให้กระชับขึ้นเท่านั้น”


วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 2 Blogger

Blog คืออะไร?

Cr.Blogger

คือ เว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ 
หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน


คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง 
โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger
จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ 
โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก

Blogger สามารถแปลได้ 2 ความหมายคือ

1. คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อกนั่นเอง

2. ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com นั่นเอง



ซึ่งสามารถจำแนกประเภทได้คร่าวๆ ดังนี้



1. บล็อกเกอร์อิสระ นักเขียนบล็อกประเภทนี้จะเขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเองไว้ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว สำหรับเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเองเพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิง, ความสนุกในหมู่เพื่อนฝูง

2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ => รับทำบล๊อกเกอร์นักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน คือใช้ blog เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดนั่นเอง
3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่างๆ
4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ บล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพ บางคนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณาต่างๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่เห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่างประเทศ เพราะเขียนให้คนอ่านมากๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีก็รายได้จากการเป็น presenter ให้สินค้าต่างๆ

Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง?


ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่ 
เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing

Cr.Introduction To Blogger

- เว็บไซด์ทั่วๆไปนั้น จำเป็นต้องมี Server, มี Host มี Domain Name เป็นของตนเอง ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของ Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้แบบฟรี เพียงแต่เราต้องใช้ชื่อ Domain ของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นของ Google คือ Blogger.com - โดเมนเนม ก็จะเป็น "ชื่อBlogของคุณ" ต่อท้ายด้วย "blogspot.com" เช่น JoJho-Problog.blogspot.com
- เว็บไซด์ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นสูงในการออกแบบ ดีไซน์ เพราะเราต้องสร้างเองทั้งหมด (ดังนั้นจะเลือกดีไซน์ยังไงก็ได้)
- แต่ Blog จะมีการดีไซน์ในรูปแบบเฉพาะเรียกว่า Blog Template ซึ่งมีให้เลือกมากมาย แต่ยังคงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้มากตามใจชอบอย่างเว็บไซด์
- การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร ทั้งในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์, โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ Network เป็นต้น แต่ Blog เพียงรู้หลักในการใช้เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดาย

Blog กับ เว็บไซด์สำเร็จรูป ต่างกันอย่างไร?

- Blog และ เว็บไซด์สำเร็จรูป (Instant Website) เป็นเว็บไซด์ที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ที่เรียกว่า เว็บไซด์ในรูปแบบ CMS  (Content Management System) คือจะเน้นในการจัดการเนื้อหาและบทความ เป็นหลัก ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมเลย ก็สามารถ สร้างBlog ขึ้นได้โดยวิธีการเข้าใจได้ไม่ยาก
- เว็บไซด์สำเร็จรูป มีทั้งแบบ เราสร้างเว็บเอง หรือ ไปขอใช้บริการแบบที่เค้าสร้างให้เสร็จแล้ว ซึ่งในที่นี้ผมจะขอกล่าวถึงแต่ เว็บไซด์สำเร็จที่เค้าสร้างให้เสร็จแล้ว เพราะจะใกล้เคียงกับบริการของ Blog
- เว็บไซด์สำเร็จรูป ที่นิยม จะเป็นในรูปแบบเปิดร้านค้าออนไลน์ (Online Shopping, Instant Online Store) ซึ่งจะมีระบบที่สนับสนุนกับการทำ E-Commerce รองรับในตัว เช่น ตะกร้าสินค้า, เว็บบอร์ด ในขณะที่ Blog จะไม่มี
- ดังนั้นในการเปิดร้านค้าออนไลน์นั้น เว็บไซด์สำเร็จรูปจะเหมาะสำหรับ ร้านที่มีสินค้าขายเป็น ชิ้นๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรในระดับหนึ่ง ... ในขณะที่ Blog จะเหมาะสำหรับร้านที่มีสินค้าตั้งขายจำนวนน้อย 
Blog จะเหมาะสำหรับธุรกิจที่เน้นให้บริการเป็นหลัก หรือธุรกิจแบบมีร้านค้าจริงๆ เพื่อแนะนำร้านสถานที่ตั้งร้าน นำเสนอและโปรโมทสินค้าบริการต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่เว็บไซด์สำเร็จรูปแบบร้านค้าออนไลน์นั้นจะเหมาะสำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าเป็นผลิตภัณฑ์ (Products) ต่างๆมากกว่า Blog

ข้อดีและข้อเสียของ Blogger

ข้อดี
- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ 
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้
เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ 
ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก

ข้อเสีย


- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)


ประโยชน์ของBlog


1. ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ 

การเขียน blog สำหรับบันทึกเรื่องราว  ข่าวสาร  ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือการเขียนต้องมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยอำนวยให้การดึงเอาความรู้ฝังลึกถูกแสดงออกมาได้โดยไม่ยากนักน็ และการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้  ( Knowledge  Assets ) อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว


2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้


โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที


3. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ 


การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี


4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ 


การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิค์ที่ผู้เขียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ชุมชน


5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ 

และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ 

วิธีการหนึ่งที่ระบบ blog โดยทั่วไปนำมาใช้ในการรวบรวมและแยกประเภทของของบันทึก คือการให้ผู้เขียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เขียนเอง อาจดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน


6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้


โดยผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้สิ่งที่นักปฏิบัติด้านการจัดการความรู้อยากให้เกิดขึ้นภายหลังจากการที่ได้มีการจัดการความรู้ ก็คือ การที่มีผู้อื่นนำเอาความรู้นั้น ๆ ไปใช้ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบ blog ประกอบกับเทคโนโลยีในการ พัฒนาเว็ปในปัจจุบัน สามารถสร้างระบบ Rating หรือระบบการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog  ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ได้ในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน


7. ใช้เป็นเครื่องมือแสดงรายละเอียดของแก่นความรู้อย่างเป็นระบบ


ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า “Imagination is more important than knowledge.”  การไม่หยุดคิดที่จะวิจัยและพัฒนา เครืองมือเทคโนโลยีเพื่อช่วยสร้างความสมบูรณ์แบบของระบบ การจัดการกับความรู้เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดขึ้นได้ เช่น ในปัจจุบันระบบ blog ถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเล่าเรื่อง ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการจัดการความรู้ แต่เพื่อที่จะสกัดความรู้ฝังลึกที่มีความซับซ้อน การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียว หรือการร่วมช่วยกันเล่าก็ตาม ก็อาจจะยังไม่สามารถสกัดเอาความรู้ออกมาได้หมด เพราะความสับสน และความไม่มีรูปแบบในตัว ของความรู้เอง ดังนั้น เทคโนโลยีที่น่าจะสามารถช่วยจัดการความรู้ประเภทนี้ได้ ก็เช่น Rule-based reasoning หรือ Fuzzy logic เพื่อ ใช้ในการทำเหมืองความรู้ ( Knowledge mining ) เป็นต้น


8. เป็นศูนย์ความรู้ขององค์การ 


เพราะให้พนักงานและบุคลากร แต่ละคนเขียน blog ส่วนตัวไว้ หากพนักงานและบุคลากรท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่องค์กรให้รุ่นน้องศึกษาไปโดยการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะ  Tacit  Knowledge เขียนออกมาเป็น “เรื่องเล่า”



บทสรุปส่งท้าย
          การเลือกทำBlog ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกวิธีหนึ่งในการนำเสนอหรือ โปรโมทสินค้าและบริการต่างๆ  ซึ่งปัจจุบันวงการ Blog นั้นได้พัฒนาขึ้นมากทั้งลูกเล่นและฟังกชั่นการออกแบบดีไซน์มีรูปแบบ Template สวยๆให้เลือกใช้มากมายครอบคลุมในสิ่งจำเป็นหลักๆได้ทั้งหมด และหากท่านมีความรู้ในเรื่องของภาษา HTML และ CSS ด้วยแล้วนั้นการสร้างBlog ในระดับคุณภาพดีดีสัก Blog ขึ้นมาอาจจะเทียบได้กับการสร้างเว็บไซด์แบบปกติหรือเว็บไซด์สำเร็จรูปดีดีสักเว็บได้เลยทีเดียว (หรืออาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำไป) และอีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆท่านอาจจะคาดไม่ถึง คือ เรื่องของการทำ SEO ให้เว็บไซด์ติดอันดับต้นๆของ  Google ในการค้นหาสำหรับ Blogger (หรือ Blogspot.com) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของ Google เองมันจะแรงและเร็วมากในการทำอันดับ หากท่านรู้วิธีการเทคนิคและหลักในการทำอย่างถูกต้องเหมาะสม

Cr. https://www.gotoknow.org/posts/263605,2556



วิธีเปลี่ยนรูปเมาส์ในบล็อก

สวัสดีครับ
     มาพบกันอีกครั้งนะครับ คราวนี้มีคนเรียกร้องเข้ามาให้สอนวิธีเปลี่ยนรูปตัวชี้เมาส์ (mouse pointer) ในบล็อก ผมก็ไปสืบเสาะ บุกป่าฝ่าดง ฟาดฟันกับศัตรู ฯลฯ จนได้มาในที่สุด
     เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
     1. ขั้นแรกก็ให้เข้าไปที่เว็บ http://www.cursors-4u.com เข้าไปเลยครับ

     2. เลือกแบบเมาส์ที่ต้องการ โดยเมนูจะอยู่ด้านซ้ายมือนะครับ เลือกหมวดที่ใช่ ชนิดที่ชอบได้เลยครับ

     3. เราก็จะมาพบกับโฆษณาแฝงครับ ไม่ต้องตกใจ กด skip this ads  ตัวเล็กๆ ด้านบนได้เลยครับ



     4. ต่อมาก็จะมีหมวดย่อยให้เลือกครับ เลือกเลย

     5. หลังจากเลือกหมวดย่อยแล้ว เราก็จะได้เลือกรูปแบบของเมาส์กันสักทีนะครับ

     6. สังเกตในรูปนะครับ อันไหนที่เขียนว่า cursor set อย่าไปเอานะครับ เพราะมันมาเป็นเซ็ต ใช้ในบล็อกไม่ได้


     7. เมื่อได้แบบของเมาส์ที่ต้องการแล้วก็คลิกเข้าไปเลยครับ

     8. ไม่ต้องกดดาวน์โหลดนะครับ ให้หาแท๊บที่เขียนว่า blogger/blogspot แบบในรูป แล้วคลิกเข้าไป


     9. เนื่องจากเราใช้บล็อกรูปแบบใหม่ ดังนั้นให้ coppy โค้ดจากช่องล่างที่เขียนว่า new blogger/blogspot interface ตามรูปเลยครับ


     10. ขั้นต่อไปก็ไปที่ blogger.com ล็อกอินเข้าหน้าแดชบอร์ด


     11. เลือกบล็อกที่เราจะเปลี่ยนรูปเมาส์ครับ แล้วกดลูกศรชี้ลงที่หมายเลข 4 ตามรูป


     12. เลือกแม่แบบครับ  เมื่อได้หน้าจอดังรูปข้างล่างแล้ว ก็กดตรง "แก้ไขHTML"


     13. ก็จะเข้าสู้หน้าจอเตือนการแก้ไข HTML ครับ หน้าจอนี้จะแจ้งเตือนทุกครั้ง ที่เราจะเข้าไปแก้ไข HTML ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บ หากทำสุ่มสี่สุ่มห้าไป อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหน้าเว็บบล็อกของเราได้ เขาเลยต้องเตือนไว้ก่อน แต่ไม่ต้องกลัวครับ ถ้าไม่ทำเกินที่ผมบอก รับรองไม่เป็นไร ก็เลือก "ดำเนินการ" ได้เลย


     14. พอเข้ามาแล้วก็เจอตัวยึกยือ ยึกยือเต็มไปหมดใช่ใหม่ครับ นี่แหละภาษา HTML บวกด้วย Java อย่าไปใส่ใจครับมองหาบรรทัดที่ 14 ที่จะเขียนว่า
     <title><.....................></title>     (ตรงจุดๆนั่นอาจจะไม่เหมือนกันครับ แต่ให้หาที่มี title ก็พอ
          สังเกตในรูปนะครับ ใต้บรรทัดที่ 14 จะมีบรรทัดว่างอยู่ 1 บรรทัด ให้เอาโค้ดที่เรา copy มา Paste ลงตรงนั้นเลยครับ จากนั้นก็กดบันทึกเทมเพลต

     15. แล้วก็เข้าไปดูบล็อกได้เลย เมาส์เปลี่ยนไปแล้ววววว

Cr.http://newpublog.blogspot.com/2012/06/blog-post.html